บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

อวัจนภาษาที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไปได้แก่ 
1. สายตา  (เนตรภาษา)  การแสดงออกทางสายตา เช่น  การสบตากันระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย  เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ  การรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย  ความไม่แน่ใจ  ฯลฯ     การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า   การแสดงออกทางสีหน้า และสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น  และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี



2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา)  การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล  สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด  หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้    ได้แก่  กิริยาท่าทาง   การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ   สามารถสื่อความหมายได้มากมาย  เช่น  การเคลื่อนไหวมือ  การโบกมือ   การส่ายหน้า   การพยักหน้า   การยกไหล่   การยิ้มประกอบ การพูด  การยักไหล่  การยักคิ้ว  อาการนิ่ง   ฯลฯ 


3. น้ำเสียง (ปริภาษา)   เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด  ได้แก่   สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ  การเปล่งเสียง  จังหวะการพูด  ความดังความค่อยของเสียงพูด  การตะโกน  การกระซิบ  น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก  นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด  เช่น  การใช้เสียงเน้นหนักเบา  การเว้นจังหวะ  การทอดเสียง  สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น  การพูดเร็ว ๆ  รัว ๆ  การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ  แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว  หรือตื่นเต้นของผู้พูด  เป็นต้น

4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา)   สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ  ที่บุคคลเลือกใช้  เช่น   ของใช้เครื่องประดับ  เสื้อผ้า  กระเป๋า  รองเท้า  นาฬิกา   ปากกา  แว่นตา  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น 

5. เนื้อที่หรือช่องว่าง  (เทศภาษา)  ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน   เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้  เช่น   ระยะห่างของหญิงชาย   พระกับสตรี   คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์    คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน  ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า  ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ  เป็นต้น

6. กาลเวลา  (กาล ภาษา)  หมายถึง  การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ  เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว  คนแต่ละคน  และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน  เช่น  การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก  การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก  เป็นต้น   

7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา)  หมายถึง  อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก  อารมณ์  ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  เช่น  การจับมือ การ แลบลิ้น  การลูบศีรษะ การโอบกอด  การตบไหล่  ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม  เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่  เป็นต้น







2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เก่งจังค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะคุณครู