บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนในฝัน


เพลงโรงเรียนในฝัน
*มีบ้างไหมที่เคยคิด                    ให้ชีวิตเป็นดั่งฝัน
ไปไกลกว่าคืนวันมีปัญหา           จะยากดี มีหรือจน
ทุกทุกคนมีความหวัง                 การศึกษาคือพลังชุบชีวา

      **การศึกษาใหม่                   ช่วยชุมชนแก้ไขปัญหา
ความจนยากไร้                           ปัญหาใดใดพ่ายเจตนา
ของเด็กนักสู้                               รู้จักเรียนรู้ตลอดชีวา
โรงเรียนในฝัน                            ขุมพลังปัญญาของชุมชนไทย

      ***รวมกำลังประชาไทย      โรงเรียนไทยพัฒนา
สร้างชาติด้วยปัญญาของเด็กไทย              จากวันนี้เราจะฝัน
เพื่อพรุ่งนี้สวยสดใส                   ชุมชนทั่วแดนไทยวิวัฒนา
ซ้ำ*** 

ไนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
โครงการพัฒนาโรงเรียนในทุกๆอำเภอทั่วประเทศ จำนวน ๗๙๕ โรงเรียนในจำนวน ๗๙๕ อำเภอ โดยให้แต่ละอำเภอมี ๑ โรงเรียน ซึ่งนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันนี้จะเน้นการปูพื้นฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กตั้งแต่วัย ปฐมวัยให้รู้จักการวิเคราะห์เป็น และรู้จักใช้ความคิด พิจารณาในเรื่องที่เราสนใจ รวมทั้งเป็นการช่วยผู้ปกครองอีกทางด้านหนึ่งด้วย กล่าวคือ ในบางเรื่องที่ผู้ปกครองไม่มีความรู้ความสามารถก็อาจจะไม่สามารถที่จะสอน บุตรหลานได้ก็จะได้มีกิจกรรมเสริมสมรรถภาพ ประกอบกับในปัจจุบันโรงเรียนดีมีมาตรฐาน มักจะรวมกันอยู่ในเขตกรุงเทพฯและในเมืองใหญ่ๆ ส่วนในเขตอำเภอต่าง ๆ ในต่างจังหวัดยังขาดแคลนโรงเรียนที่มีคุณภาพอีกทั้งเด็กในชนบทมีความยากจน ผู้ปกครองไม่มีความสามารถที่จะส่งให้เด็กได้เล่าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อ เสียง ดังนั้นจึงเกิดโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันขึ้น เพื่อขจัดปัญหาความเลื่อมล้ำทางด้านวิชาการของโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อให้เยาวชนไทยที่อยู่ห่างไกลได้เติบโตด้วยความพร้อมในทุกๆด้าน มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้และพร้อมที่นำพาประเทศก้าวไปสู่ความเจริญ ยิ่ง ๆ ต่อไป

12วิธีการดำเนินงาน
๑. ทางคณะกรรมการและทุกฝ่ายของโครงการจะต้องทำความเข้าใจกับทุกส่วนของสังคมใน เขตของอำเภอที่ดำเนินโครงการว่าโรงเรียนนั้นมีปัญหาด้านใดบ้าง ควรพัฒนาอย่างไร
๒. การคัดเลือกโรงเรียน โดยเลือกอำเภอละ ๑ โรงเรียน ในสังกัดกรมสามัญศึกษาและสปช. โดยคิดถึงประโยชน์ร่วมที่ประชาชนจะได้รับและจำนวนนักเรียนจะต้องไม่น้อยเกิน ไป และการคัดเลือกจะต้องให้ชุมชนร่วมคัดเลือกด้วย เพื่อที่จะพัฒนาให้ตรงกับสิ่งที่ชุมชนต้องการ
๓. โครงสร้างและวิธีงบประมาณ จะออกแบบโครงสร้างแบบอิสระ (นอกกรอบราชการ) งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะเน้นที่จำนวนนักเรียน (จำนวนครู : นักเรียน)
๔. การพัฒนาผู้บริหาร อาจจะมีการประเมินผู้บริหารโดยการสำรวจละจัดทำลำดับความนิยม โดยทำเป็นทะเบียนรายชื่อครูต้นแบบทั้งกรมสามัญและ สปช. และจัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนา การฝึกอบรมในช่วงปิดเทอมแรกปี ๒๕๔๖ รวมทั้งวางแผนด้านงบประมาณด้วย
๕. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการเรียนรู้ ต้องออกแบบให้เด็กใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและโรงเรียนในฝันจะต้อง มีข้อมูลสำคัญๆ เช่น รายชื่อนักเรียน จำนวนและรายชื่อครู อุปกรณ์การเรียนการสอน และหลักสูตร โรงเรียนในฝันแต่ละโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาร่วมกัน
๖. วิธีการกำกับ ติดตามและประเมินผล เป็นการประเมินผลเชิงวิจัยเพื่อพัฒนา ที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน
๗. การทำการประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำข้อมูลเพื่อแถลงข่าว และเอกสารเผยแพร่โครงการสู่สาธารณชนให้มีความเข้าใจและเห็นภาพโครงการชัดเจน ตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง อย่างมีเหตุผล

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในหลักการโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน(Lab School) เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๖ และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการพัฒนาแนวคิดและหลักการโดยมี ความเชื่อที่ว่าการศึกษาสามารถพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถลดช่องว่างของบุคคลในสังคมลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนชาวไทยสามารถหลุดพ้นจากวงจรความยากจน ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นที่สำคัญของรัฐบาล ดังนั้น โครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน จึงเป็นกระบวนการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนในฝันของคนในสังคมที่ต้องการ ให้เด็กและเยาวชนได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพและในขณะเดียวกันโครงการ นี้ก็จะช่วยทำให้ความฝันของคนในสังคมเป็นจริงได้ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑. การคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในแต่ละอำเภอควรเป็นไปตามเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่

๒. การพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนในฝันในด้านต่างๆ นอกจากใช้งบประมาณแผ่นดินแล้วควรประสานกับภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่มี ศักยภาพเพื่อเป็นเจ้าภาพหลักที่จะให้การสนับสนุนโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างเป็น รูปธรรมและต่อเนื่อง โดยให้ประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อหามาตรการทางภาษีที่เหมาะสมและสร้างแรง จูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนใน โครงการนี้ต่อไป
๓. ควรระดมความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันราชภัฏในพื้นที่ให้เข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติจริงแก่นิสิตนัก ศึกษาเสมือนเป็นโรงเรียนสาธิตของสถาบันนั้น ๆ
แนวคิดโครงการ
พื้นฐานแนวคิดโครงการหลอมรวมจากความฝันอันสูงสุดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนในท้องถิ่นที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
๑. การกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทยให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนี้
ระยะแรกเริ่มจากการพัฒนาโรงเรียนในระดับอำเภอทุกอำเภอ
ระยะที่สองพัฒนาไปสู่ระดับตำบล
ระยะที่สามขยายเครือข่ายครอบคลุมไปทุกหมู่บ้าน
๒. การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานโดยการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนบนพื้นฐานความเป็นไทยและความเป็น ประชาธิปไตยเป็นต้นแบบและพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนอื่น
๓. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีจำนวนเพียงพอเป็นระบบเครือข่ายและ เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกันโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของโลกในอนาคต
๔. การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาของชาติ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันได้ในระดับสากล
๕. การบริหารจัดการทั้งระบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้มีจำนวนผู้บริหารครูและ บุคลากรมืออาชีพอย่างเพียงพอ มีอิสระในการทำงานอย่างคล่องตัว มีการพัฒนาด้านกายภาพอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๖. การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนใน ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยและเป็นโรงเรียนสาธิตการฝึกอบรม ครูจากสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่
๗. การวัดประเมินผลเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนาตนเองภายในโรงเรียนและการรับรอง คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติโดยการประเมินจากองค์กรทั้งภายในและภายนอก
ผลการดำเนินงาน
กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันจากทุกกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดให้โครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน เป็นโครงการที่ให้โอกาส ให้ความเสมอภาคและพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและชื่นชมผลงานร่วมกันของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียน ครู ผู้บริหารและโรงเรียนให้สมบูรณ์แบบกลายเป็นฝันที่เป็นจริงของทุกคนในยุค ปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นพร้อมกันในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ นี้โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตรงตามเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ ดังนี้
๑. การคัดเลือกโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญ ศึกษาได้ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนเพื่อให้แต่ละอำเภอใช้เป็นแนว ทางการคัดเลือกโรงเรียนขนาดกลางที่มีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค ทำเลที่ตั้งเหมาะสม ผู้บริหารและครูมีศักยภาพเพียงพอ และที่สำคัญที่สุดคือได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในท้องถิ่น โดยจะประเมินสภาพจริงของแต่ละโรงเรียนก่อนการพัฒนา จำนวนรวมทั้งสิ้น ๙๒๑ โรงเรียนใน ๗๙๕ อำเภอ ๘๑ กิ่งอำเภอและ๔๕ เขตในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกได้ดังนี้
ร้อยละ ๒๘ เป็นโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สปช ที่เปิดสอน ๒ ระดับการศึกษา
ร้อยละ ๗๒ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา สศ
๒. การพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย
๒.๑ ผู้รับผิดชอบ คือคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏ สถาบันราชมงคลและโรงเรียนเอกชนที่ได้มาตรฐานในแต่ละพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงใน การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๒.๒ ผู้รับการพัฒนาได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน จาก ๙๒๑ โรงเรียน โดยมีกระบวนการพัฒนา ดังนี้
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารองค์กรทั้งระบบ และการบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคลที่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการพัฒนาให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ มีวิสัยทัศน์ในการบริหาร มีรูปแบบการบริหารทางวิชาการเป็นหลัก มีความรู้และความเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความรู้ทางด้านสามารถบริหารจัดการได้ตามสถานการณ์และพัฒนาองค์กรให้เป็น องค์กรที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการ ศึกษา
ครูผู้สอนดำเนินการพัฒนาให้เป็นบุคลากรมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพ มีีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เป็นไปตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และมีความรู้ในเรื่อง ICT เป็นอย่างดี
๒.๓ แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่สำคัญ คือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ พัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนที่เข้มแข็ง การประเมินผล ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
๓. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
มีมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ที่หลากหลายมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพผู้เรียน
การนำระบบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ในการสืบค้นข้อมูล การแข่งดี และการวัดประเมินผล
มีกระบวนการจัดทำหลักสูตรและบริหารหลักสูตรโดยอาศัยความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น
๔. การจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร(ICT) ประกอบด้วย
ระบบส่วนกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและส่วนให้บริการติดตามงานต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
การใช้กลางร่วมกันกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร(ICT)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำระบบการทดสอบ ระบบ e-Collaboration ,ระบบ e-Learning, ระบบ e-Book ระบบบริการเนื้อหา ระบบ digital / e-Library และระบบ Management Report
ระบบเครือข่ายเชื่อมต่อ Internet แบบ laesed line ให้กับโรงเรียน ๒๐,๐๐๐ โรง
๕. โครงสร้างและการบริหารโรงเรียน
ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการแบบ School-based Management และการพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
ระดมทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนในท้องถิ่น
ปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวเพื่อเตรียมเป็นองค์กรแบบนิติบุคคล
จัดระบบ e-Procurement / e-Bidding ให้ผู้บริหารโรงเรียนนำไปใช้ในการบริหารจัดการ
๖. การกำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการ ประกอบด้วย
การประเมินตนเองเป็นการประเมินผลตามสภาพจริงเพื่อแสวงหาจุดพัฒนาตนเองของแต่ละโรงเรียนและรายงานผลในแต่ละไตรมาส (Quarterly Report)
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยใช้ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งดำเนินงาน โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานแลประเมินคุณภาพการศึกษา สมศ
การทดสอบผู้เรียนโดยสถาบันเขตพื้นที่การศึกษาและสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ
การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบจากนักวิชาการหรือหน่วยงานอิสระ
๗. การประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย
การจัดประชุมสัมมนาตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่นให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชนทุกแขนง รวมทั้งเวปไซด์ของกระทรวงศึกษาธิการ
การจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ ส่งไปยังหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
๘. การสนับสนุนโครงการ
การกำหนดมาตรการจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่
การขอการสนับสนุนช่วยเหลือจากภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ NGO รวมทั้งชุมชนทั้งในท้องถิ่น ในประเทศและต่างประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เด็กและเยาวชนไทยมีโอกาสได้รับการศึกษาในโรงเรียนที่มีคุณภาพ ส่งผลให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคตต่อไป
๒. มีโรงเรียนที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น ของสังคม พร้อมทั้งได้มาตรฐานและมีความเท่าเทียมกันกระจายอยู่ทุกอำเภอทั่วประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่าง 
 "มาตรฐานการศึกษา"  "โรงเรียน" และ "ช่องว่างทางสังคม"
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ
  "วงจรระบบการศึกษา"  ที่มีต่อ "ช่องว่างทางสังคม"
แนวความคิดพื้นฐานของโครงการ

square72_green.gif สังคมแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศวิชาการ บรรยากาศการเรียน

square72_green.gif เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) E-Learning
square72_green.gif บริหารด้วยระบบข้อมูล ระบบดูแลนักเรียน
square72_green.gif พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการ Whole School Approach
square72_green.gif ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ บรรยากาศบริหารเป็นเอกภาพ, SBM
square72_green.gif การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญา, Participatoty Learing
square72_green.gif Two-way communication  การพัฒนาเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน โรงเรียนเอกชน  และสถาบันอุดมศึกษา
square72_green.gif ฐานการเรียนรู้สู่วิชาชีพ (Career Path) ประกอบอาชีพได้
square72_green.gif มีระบบการจูงใจ
square72_green.gif เป็นพลเมืองดีของโลกโดยมีวิถีชีวิตแบบไทย
square72_green.gif มีบุคลากรและครูครบตามสาระของหลักสูตร
square72_green.gif ดี เก่ง มีความสุข
องค์ประกอบของโรงเรียนในฝัน



ผลผลิต
กระบวนการ
ปัจจัย
square72_green_1.gif ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ และสามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
กระบวนการเรียนรู้
square72_green_1.gif ปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
square72_green_1.gif ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพและมีจำนวนเพียงพอ
square72_green_1.gif โรงเรียนเป็นที่ยอมรับศรัทธาเป็นต้นแบบ และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับโรงเรียนอื่นและชุมชน square72_green_1.gif จัดบรรยากาศการเรียนรู้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และมีความเป็นประชาธิปไตย square72_green_1.gif ทรัพยากร เทคโนโลยี และงบประมาณเหมาะสมเพียงพอ
square72_green_1.gif ชุมชนมีเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง และเกื้อหนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง square72_green_1.gifจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการพัฒนาและแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขและปลอดภัย square72_green_1.gif ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

การบริหารจัดการ
square72_green_1.gif บริหารจัดการดี โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
square72_green_1.gif หลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียน
และท้องถิ่น และมีความเป็นสากล

square72_green_1.gif บริหารคุณภาพทั้งระบบโรงเรียน square72_green_1.gif สื่อและเทคโนโลยีทันสมัยเพียงพอ
และเอื้อต่อการเรียนรู้

square72_green_1.gif บริหารแบบมุ่งสัมฤทธิ์ square72_green_1.gif แหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน
หลากหลาย

square72_green_1.gif เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชน และองค์กรเอกชน
square72_green_1.gif ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
และชุมชนแข็งแรง

การประกันคุณภาพ
square72_green_1.gif มีระบบประกันคุณภาพภายในและพร้อมที่จะรับการประกันจากภายนอก




1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณที่ให้ความรู้ โจ