บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสียงสระ


เสียงสระ
                                                                                      โดยชญาภรณ์   โตสมบัติ
ฐานที่เกิดเสียงสระ
        เสียงสระ เกิดขึ้นโดยอาศัยคอเป็นที่ตั้ง และริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วย ลิ้นที่ทำให้เกิดเสียงมีอยู่ ๓ ส่วน คือ ลิ้นส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลังลิ้นแต่ละส่วนก็ยังสามารถกระดกขึ้นลงได้ ๓ ระดับ  คือ สูง กลาง ต่ำ ถ้าลิ้นกระดกระดับต่าง ๆ เสียงสระที่เกิดขึ้นก็จะต่างกันไปด้วย จากตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นส่วนของลิ้นที่ทำให้เกิดสระ   
 ระดับลิ้น  
 ลิ้นส่วนหน้า
   ลิ้นส่วนกลาง
 ลิ้นส่วนหลัง   
  สูง
กลาง
ต่ำ
 อิ       อี
เอะ      เอ
แอะ     แอ  
   อึ       อือ
เออะ      เออ
อะ       อา   
อุ        อู
โอะ       โอ
เอาะ      ออ  
รูปสระ
        สระไทย ๒๑ รูป ดังนี้ 
๑.     ะ  วิสรรชนีย์
๘.     "   ฟันหนู  
๑๕.         ตัวออ
๒.        ไม้ผัดหรือไม้หันอากาศ
๙.        ตีนเหยียด  
๑๖.         ตัวยอ
๓.      ็  ไม้ไต่คู้
๑๐.      ตีนคู้
๑๗.  ว        ตัววอ
๔.      ลากข้าง    
 ๑๑         ไม้หน้า
๑๘.  ฤ       ตัวร
๕.        พินท์อิ
๑๒.         ไม้ม้วน
๑๙.  ฤา     ตัวรือ
๖.        ฝนทอง   
๑๓.         ไม้มลาย
๒๐.        ตัวลึ
๗.        นฤคหิต (หยดน้ำค้าง)
๑๔.         ไม้โอ
๒๑. ฦา      ตัว ลือ     
เสียงสระ      
        เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียงจำแนกเป็นเสียงเดี่ยวหรือสระแท้ ๑๘ เสียงสระเลื่อน ๖ เสียง
                ๑. สระเดี่ยว หรือสระแท้ มี ๑๘ เสียง ซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาว ๙ คู่ ดังนี้
                        รัสสระ (สระเสียงสั้น)                   ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                           อะ                                                        อา
                           อิ                                                          อี  
                           อี                                                          อื    
                           อุ                                                          อู
                           เอะ                                                       เอ  
                           แอะ                                                      แอ  
                           โอะ                                                      โอ  
                          เอาะ                                                      ออ  
                          เออะ                                                     เออ
                ๒. สระเลื่อน หรือสระประสม ในภาษาไทยมี ๖ เสียง คือสระที่มีการเลื่อนระดับของลิ้นจากเสียงหนึ่งไปยังเสียงหนึ่ง
ได้แก่
รัสสระ (สระเสียงสั้น)           ทีฆสระ (สระเสียงยาว)
                                เอียะ (อิ -> อะ)                เอีย (อี -> อา)
                                เอือะ (อื -> อะ)                เอือ (อื -> อา)
                                อัวะ (อุ -> อะ)                 อัว (อู -> อา)
        คำที่มีสระเลื่อนเสียงสั้นมีเพียงไม่กี่คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น เกี๊ยะ  เปรี๊ยะ เบื๊อก เอื๊อก ผัวะ ยัวะ ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์บางคนจึงถือว่าภาษาไทยมีสระเลื่อนเพียง ๓ เสียง คือ /เอีย/ /เอือ/ /อัว/ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเสียงสระ
        ๑. สระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น  คำว่า "ไน" อาจเขียนว่า"นัย" หรือ "ใน" คำว่า "กำ" อาจเขียนว่า "กรรม"
        ๒. ในบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่นคำว่า ญาติ  ประวัติ ุุ ในคำว่าเหตุธาตุ
        ๓. ในบางคำมีเสียงสระ /อะ/ แต่ไม่ปรากฏรูป  เช่น สบาย ตลาด หวายอร่อย
        ๔. ไม้ไต่คู้   ใช้แสดงเสียงสั้นแต่คำบางคำเสียงสั้นก็ไม่นิยมใช้ไม้ไต่คู้   เช่น  เพชร เบญจ
        ๕. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง
                วางไว้ข้างหน้าพยัญชนะ    เช่น สระ เ-  แ-  ใ-
                วางไว้ข้างหลังพยัญชนะ    เช่น สระ -า
                วางไว้ข้างบนพยัญชนะ     เช่น สระ  -ิ  -ี
                วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ    เช่น สระ  -ุ  -ู
                วางไว้ข้างหน้าและข้างหลัง เช่น สระ เ-า
                วางไว้ข้างหน้าและข้างบน  เช่น สระ เ-ีย
        ๖. การใช้สระ มี ๓ ลักษณะ คือ  
                ๑. สระคงรูป    เช่น ใน เสา มี
                ๒. สระลดรูป    เช่น ตก
                ๓. สระเปลี่ยนรูป เช่น มัน เห็น

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นี่แหละคุณครูของพวกเราทั้งเก่ง ทั้งสวย