บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติภาษาไทย



การเรียนการสอนภาษาไทย  จากอดีตสู่ปัจจุบัน
โดยชญาภรณ์    โตสมบัติ
     การเรียนการสอนภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีการจัดการเรียนการสอนเป็น ๔ แบบ  คือ จริยศึกษา พลศึกษา  พุทธศึกษา  และหัตถศึกษา  จนถึงสมัยอยุธยา  สมัยกรุงธนบุรี  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เรื่อยมาจนปัจจุบัน  โดยมีการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ  และมีการใช้หนังสือเรียนภาษาไทยและหนังสือภาษาไทยอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ประกาศใช้ในแต่ละช่วง  จนกระทั่งมีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๔๔  ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  จึงได้ประกาศแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย  และการใช้ภาษาไทยขึ้นโดยกำหนดยุทธศาสตร์  ๔  ข้อ  คือ
            ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ปฏิรูปการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทย   เน้นการฝึกทักษะที่สัมฤทธิ์ผลการสร้างนิสัยรักการอ่าน การเขียน  และการแสวงหาความรู้
            ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ยกระดับคุณภาพของครูผู้สอนภาษาไทยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
            ยุทธศาสตร์ที่ ๓ รณรงค์ให้ทุกส่วน  และสังคมร่วมส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย  การใช้ภาษาไทย  และสืบทอดภาษาไทย
            ยุทธศาสตร์ที่ ๔ กำกับ  ติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย
            (วารสารวิชาการ : เพชราภรณ์  รื่นรมย์)
            จากยุทธศาสตร์ทั้งหลายไม่ว่าจะเลิศหรูสักเพียงไหน  หากขาดการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากผู้บริหารของโรงเรียนแล้ว  ยุทธศาสตร์คงขับเคลื่อนไม่ได้  วิชาภาษาไทยก็คงจะยังเป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียน  ส่วนครูผู้สอนภาษาไทยก็คงเชย     และดักดานต่อไปอย่างยาวนาน
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทางใต้  จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน   แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ คนไทยโดยเฉพาะ ก็คือ        ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า    ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน และมีคำพ้องเสียง        และความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว  ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ   ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่   อยู่หลังคำที่ประกอบหรือขยาย   ส่วนภาษาจีน    ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า        
            เมื่อไทยอพยพลงมา   อยู่ในแหลมทอง      ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า     มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม   เช่น   อินเดีย  (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น
            ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก    ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต    เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์    ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา      คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน
ลักษณะของภาษาไทย
      วิวัฒนาการของภาษาไทย
                ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
                ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว           
        ลักษณะภาษาไทยแท้
                ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย  นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ  
คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่    พูดมาก ดียิ่ง  คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด  แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก  เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง 
 ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
                เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ        มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้
มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น   มีคำควบกล้ำมากขึ้น   มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมรทททใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น เช่นแม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬสะกด  แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น   มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น
 ลักษณะเด่นของภาษาไทย
                ภาษาไทยที่ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้
ภาษาไทยประกอบด้วยคำโดด มากกว่าภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ เช่น
คำไทย
บาลี
อังกฤษ
พ่อ
ปิตุ
 father
น้ำ
อุทก
water
ฟ้า
นภา
sky
ไม่มีหลักไวยกรณ์  เช่นเกี่ยวกับ ปัจจัย อุปสรรค กาล เพศ พจน์ ฯลฯ  แน่นอนอย่างภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการลงปัจจัย เพื่อแสดงชนิดของคำ กาล เพศ พจน์ ฯลฯ ถ้าต้องการบอกชนิดของคำ ใช้คำมาเพิ่มข้างหน้า ถ้าต้อการบอก กาล เพศ พจน์ ใช้คำมาต่อข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยไม่เปลี่ยนรูปคำเดิม เช่น
เดิน
กริยา
การเดิน
นาม
ดี
วิเศษณ์
ความดี
"
กินอยู่
กาลสามัญปัจจุบัน
กินแล้ว
อดีตกาลสมบูรณ์
ช้างพลาย
เพศชาย
ช้างพัง
เพศหญิง
เด็กคนเดียว
เอกพจน์
เด็กหลายคน
พหูพจ
คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น
กร
(ทำ) กริยา
การก
(ผู้ทำ) นามนาม
รม
(ยินดี) กริยา
รมณีย
(น่ายินดี) คุณนาม
กุมาโร
(เด็กชายคนเดียว)
กุมารา
(เด็กชายหลายคน)
กุมาโร
(เด็กชาย)
กุมารี
(เด็กหญิง)
คจฉติ
(ย่อมไป)
คโต
(ไปแล้ว)
die
(ตาย) กริยา
death
(ความตาย) นาม
man
(คนผู้ชายคนเดียว)
men
(คนผู้ชายหลายคน)
prince
(เจ้าชาย)
princess
(เจ้าหญิง)
work
(ทำงาน)
worked
(ได้ทำงาน)
ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี คือ เมื่อเสียงของคำสูงต่ำผิดไป ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย จึงจำต้องใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับคำไว้   คา ข่า  ข้า  ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ    ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น  เต (เขาทั้งหลาย)  ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ car (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็คงมีความหมายเช่นเดิม คำขยายในภาษาไทย ส่วนมากอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น คนดี วิ่งเร็ว สูงมาก ส่วนคำภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต อังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาจีน ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาไทย ส่วนมากคำขยายอยู่ข้างหน้าตำที่มันขยาย            




1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่ารักจังทำได้ยังไงเนี๊ย